วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554


เทคนิคการพันลวด
การพันลวดเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับกระบวนการสร้างไม้บอนไซตามแบบฉบับของญี่ปุ่น  แต่การสร้างไม้บอนไซตามแบบฉบับของจีนแล้วจะใช้เทคนิคการตัด, การโน้มกิ่ง, การดึงกิ่ง ฯ  หากดูไม้ของจีนขณะกำลังสร้างเราจะเห็นเชือกระโยงรยางค์ไปหมด  ข้อดีของเทคนิคนี้ก็คือไม้จะไม่ค่อยช้ำ เจริญเติบโตได้เร็ว  ข้อเสียก็คือหากมีบางตำแหน่งที่กิ่งไม่มีจะต้องรอให้กิ่งแตกออกมาเองโดยธรรมชาติ  ซึ่งอาจจะแตกออกมาหรือไม่ก็ได้  แต่หากใช้เทคนิคการพันลวดแบบญี่ปุ่นแล้วเราสามารถที่จะดัดกิ่งอื่นๆที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่เราต้องการให้เข้ามาเสริมในตำแหน่งที่ขาดหายดังกล่าวได้   ไม้ที่สร้างจากทั้งสองเทคนิคจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน  รูปแบบของไม้บอนไซของญี่ปุ่นจะมีความละเอียดปราณีตของไม้มากกว่า  และสามารถทำไม้บอนไซขนาดเล็กแต่ยังคงรายละเอียดของกิ่งก้านเอาไว้ได้  แตกต่างจากไม้บอนไซจากจีนจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่โตรายละเอียดน้อยกว่า  ปราณีตต่างจากทั้งสองเทคนิคจะเห็นขาดหายดังกล่าวได้ การพันลวดแบบญี่ปุ่นแล้วเราสามารถที่จะดัดกิ่งอื่นๆที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่เราต้อความงามอยู่ที่ภาพรวมของไม้เป็นหลัก  ในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเทคนิคการพันลวดตามแบบฉบับการสร้างไม้บอนไซของญี่ปุ่น
  ไม้บอนไซที่สร้างได้สวยงามส่วนมากจะต้องมีการพันลวดในบางจุดขณะที่กำลังสร้างไม้   เป็นเทคนิคไว้ว่าจะเป็นผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นสร้างไม้บอนไซหรือแม้จะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญก็ตามจำเป็นต้องใช้เสมอ  เทคนิคการพันลวดทำให้ผู้สร้างไม้บอนไซสามารถควบคุมการสร้างลำต้นและกิ่งก้านของไม้บอนไซได้เป็นอย่างดีตามต้องการ
การพันลวดรอบๆกิ่งของไม้ทำให้เราสามารถดัดต้นไม้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ  โดยการยึดรั้งไว้ด้วยลวดในชั่วเวลาหนึ่งอาจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนเดือนขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ของเรา   กิ่งหรือลำต้นจะเริ่มรับรู้ถึงสภาวะที่เกิดขึ้นและจะยังคงอยู่ในตำแหน่งที่เราดัดไว้ถึงแม้เราจะปลดลวดออกแล้วก็ตาม  ด้วยการใช้ลวดเราสามารถทำให้ลำต้นหรือกิ่งมีความอ่อนไหวเป็นธรรมชาติ  ด้วยเทคนิคนี้เราสามารถใช้ลวดดัดกิ่งอ่อนซึ่งตามธรรมชาติจะพุ่งขึ้นให้อยู่ในแนวระนาบหรือแม้แต่จะให้โค้งตกลงมาเหมือนกิ่งของไม้ใหญ่ที่ลู่ต่ำลงด้วยน้ำหนักของมันเอง  เราสามารถดัดกิ่งเพิ่อเติมในช่องว่างของไม้บอนไซได้   ถ้าเราจะสร้างไม้บอนไซโดยการไม่ใช้วิธีการดัดด้วยลวดแล้ว  เราจะต้องรอยอดใหม่โดยหวังว่ามันจะแตกออกมาตรงตำแหน่งที่ต้องการ  แต่ด้วยการใช้ลวดเราสามารถดดัดกิ่งที่อยู่ในตำแหน่งอื่นให้เข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการได้ 
การเลือกลวดบอนไซ
ลวดบอนไซปรกติจะมีสองชนิด คือ ลวดอลูมิเนียมและลวดทองแดง  ลวดอลูมิเนียมก็ยังแบ่งออกเป็นสองชนิด แบบสีโลหะธรรมดา และแบบอโนไดซ์   ลวดอลูมิเนียมจะอ่อนง่ายต่อการดัดและตัดจึงเหมาะสำหรับนักบอนไซมือใหม่และยังสามารถนำมาใช้ได้ใหม่หลังใช้ดัดแล้ว (แต่ไม่แนะนำเนื่องจากไม้ที่เราดัดแล้วเมื่อเราคลายลวดออกทั้งเส้นอาจจะทำความเสียหายให้กับกิ่งที่พันไว้ ส่วนใหญ่จะตัดเป็นท่อนๆทิ้งเลย)   ลวดทองแดงจะแข็งกว่าทำให้การพันยากกว่ามาก และเมื่อพันเข้ารูปแล้วจะไมสามารถนำมาใช้ได้อีก  กรรไกรตัดลวดปรกติกรรไกรตัดลวดธรรมดาก็ใช้งานได้ดีพอแล้ว  ไม่จำเป็นต้องใช้กรรไกรเฉพาะเจาะจง
ลวดอลูมิเนียมจะขายเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ลวดยิ่งโตก็ยิ่งสามารถดัดไม้ได้ใหญ่ขึ้น  ปรกติการเลือกขนาดของลวดจะใช้ขนาดเป็น 1/3  ของความโตของต้นหรือกิ่งที่ต้องการดัด  ส่วนลวดทองแดงซึ่งแข็งกว่าจะใช้ขนาดที่เล็กกว่า  ขนาดของลวดอาจปรับเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ที่ต้องการดัด 
สำหรับมือใหม่แนะนำให้ใช้ลวด 3 - 4 ขนาดก็เพียงพอแล้ว  ลวดที่จะใช้มีขนาดตั้งแต่  1.2 mm, 1.7mm, 2.5mm  และ 4mm   เมื่อเริ่มชำนาญคุณก็จะสามารถเลือกลวดที่จะใช้กับกิ่งและชนิดของไม้ที่ต้องการดัดได้เป็นอย่างดี


หมายเหตุ  ลวดเหล็กจะเป็นพิษกับไม้จำพวกสน  เหล็กจะเกิดปฏิกิริยากับน้ำยางของไม้ขึ้นทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Blackrot ซึ่งจะแพร่ลามไปอย่างลวดเร็วและอาจทำให้ไม้ตายลงได้  สำหรับไม้ตระกูล Rhododendron เช้น Azalea มีรายงานว่าทองแตงจะเป็นพิ่ษต่อไม้ตระกูลนี้

ลวดบอนไซ
ลวดที่จะใช้ต้องใหญ่พอที่จะดัดกิ่งและยึดให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการได้  แต่จะต้องเล็กพอที่จะทำงานได้โดยง่ายและดูเรียบร้อยเมื่อเสร้จ  ขั้นตอนของการพันลวดและการดัดจะทำให้เกิดการแตกและรอยปริขึ้นที่ชั้นใต้เปลือกไม้ของกิ่ง  เมื่อชั้นแคลมเบี้ยมของไม้ซ่อมแซมและรักษารอยแตกหรือปรินี้หายแล้ว  กิ่งที่เราดัดลวดจะคงอยู่ในตำแหน่งนี้อย่างถาวรถึงแม้เราจะปลดลวดที่พันออกแล้วก็ตาม  กิ่งยิ่งโตเร็วเท่าไรมันก็จะซ่อมแซมและรักษาตัวเองได้เร็วเท่านั้น และในที่สุดเราก็สามารถปลดเอาลวดที่พันออกได้โดยกิ่งยังอยู่ในตำแหน่งที่พันไว้แต่เดิม  การพันลวดในฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ไม้เจริญเติบโตได้ดีมาก   เราจะใช้เวลาสั้นกว่าทำในฤดูหนาวขณะที่ไม้เจริญเติบโตได้ช้ากว่า  และไม้สายพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้เร็วเช่น ไกร หรือชาฮกเกี้ยน  จะใช้เวลาในการพันลวดให้เข้าสู่ตำแหน่งที่ต้องการน้อยกว่าไม้ที่เจริญเติบโตช้า เช่น ไม้ตระกูลสน 



เทคนิคการพันลวด
  • ลวดควรทำมุม 45° กับแนวของกิ่งที่จะพัน


  • การพันลวดต้องพันให้สม่ำเสมอสนิทกับลำต้นหรือกิ่ง  ไม่ห่างหรือหลอมเกินไป  


ภาพแสดงลวดที่พันหลอมเกินไป  จะทำให้ไม่มีแรงดัดกิ่งที่มีประสิทธิภาพ


ภาพแสดงลวดที่พันระยะห่างกันเกินไป  จะทำให้ไม่มีแรงดัดกิ่งที่มีประสิทธิภาพ


ภาพแสดงลวดที่พันระยะชิดกันและแน่นเกินไป  ทำให้ลวดรัดขวางทางเดินของท่อน้ำเลี้ยง อาจทิ้งกิ่งได้


ภาพแสดงลวดที่พันถูกต้องไม่แน่นเกินไป  ทำมุม 45° กับแนวของกิ่งที่จะพัน
  • การพันลวดสำหรับกิ่งให้พันดังภาพแสดงด้านล่าง  การพันกิ่งสองกิ่งให้พันลำต้นหนึ่งรอบก่อนจะพันไปยังกิ่งที่สอง


หากไม่สามารถใช้กิ่งสองกิ่งได้ให้พันรอบต้นอย่างน้อย 2 รอบก่อนเริ่มพันกิ่ง

การพันกิ่งรองและกิ่งหลักด้วยลวดเส้นเดียวกัน
  • จับปลายลวดด้านหนึ่งด้วยมือซ้ายไว้ตลอดเวลา  ขณะที่เราพันลวดไล่มาตามกิ่งขยับมือซ้ายไล่ตามไปเรื่อยๆ  ลวดที่พันไปแล้วจะต้องไม่ขยับขณะที่เราพันส่วนที่เหลือของกิ่ง
  • จับลวดที่จะพันไว้ด้วยมือขวา  ป้อนลวดผ่านทางนิ้วโป้งและนิ้วชี้เมื่อพันลวดรอบกิ่งหมุนเป็นเกลียววงกลมรอบๆกิ่ง  พันลวดจากส่วนล่างสุดโดยให้พุ่งเข้าหาต้ว
  • เราอาจจะตัดลวดให้ยาวเพิ่มขึ้นประมาณ 1/3  ของความยาวกิ่งที่จะพันลวด

  • ปลายสุดของลวดหักทำมุม 90° กับแนวของกิ่งเพื่อล๊อคลวดเอาไว้กับปลายกิ่ง
  • สำหรับไม้ตระกูลที่เจริญเติบโตได้เร็ว  อาจพันลวดแบบหลอมๆเพื่อป้องกันไม่ให้ลวดบาดเข้าไปในเนื้อไม้เมื่อกิ่งโตขึ้น 
  • เมื่อต้องการพันลวดทั้งต้นให้เริ่มจากลำต้น, ไปที่กิ่งหลัก และกิ่งรองตามลำดับ

การดัดกิ่งให้เข้าตำแหน่งที่ต้องการ
  • ดัดกิ่งช้าๆและต่อเนื่อง  พยายามฟังเสียงและสังเกตดูว่ากิ่งเริ่มมีการแตกบ้างหรือไม่  หากกิ่งเริ่มแตกให้หยุดทันที  ยิ่งกิ่งใหญ่ก็ยิ่งแข็งต้องใช้แรงในการดัดมากขึ้นไปอีก  หากเป็นกิ่งที่ใหญ่และแข็งมากๆจำเป็นต้องใช้การพันกิ่งด้วยเชือกฟางก่อนพันหรือใช้เทคนิคการบากกิ่งช่วย (ซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อๆไป) 
  • หากไม่แน่ใจให้ลองดัดกิ่งด้วยนิ้วมือก่อนพันลวดเพื่อให้รู้ว่าเราสามารถดัดกิ่งได้มากขนาดไหน   
  • ไม้บางชนิด เช่น อซาเลีย,     ไม่สามารถดัดมากๆได้ต้องใช้วิธีบากกิ่งหรือแยกกิ่งช่วย  ไม้จำพวกนี้ต้องดัดลวดขณะกิ่งยังอ่อนๆอยู่ 
  • การดัดจะใช้นิ้วมือทั้งสองข้างจับด้านนอกของกิ่งที่ต้องการดัดเอาไว้  แล้วใช้นิ้วโป้งทั้งสองข้างดังเพื่อดัดกิ่งจากด้านใน  จะทำให้เราควบคุมการดัดได้เป็นอย่างดี 
  • อย่าพยายามดัดกิ่งตรงตำแหน่งที่ชิดกับลำต้น  กิ่งจะฉีกเสียหายได้  ต้องดัดห่างออกมาจากจุดนั้นเล็กน้อย  ไม่ต้องกังวลว่ากิ่งตรงส่วนนั้นจะดูโค้งเพราะในที่สุดต้นไม้จะปรับองศาของกิ่งตรงจุดนั้นเข้ามาเอง 
  • ก่อนพันลวดควรลดปริมาณน้ำในดินให้น้อยเล็กน้อย  หากน้ำในดินน้อยจะทำให้ต้นหรือกิ่งไม่อิ่มน้ำและง่ายต่อการดัด 
  • คิดก่อนดัด  หากดัดแล้วไม่ควรดัดกลับไปกลับมาอีกควรดัดเพียงครั้งเดียว  เนื่องจากทุกการดัดจะทำความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อของต้นหรือกิ่งที่เราดัด  กิ่งจะยิ่งบอบช้ำมากยิ่งขึ้น   
การสร้างความอ่อนช้อยให้กับกิ่งและลำต้นให้เสมือนต้นไม้ใหญ่
  • การดัดมุมแหลมต้องดัดที่ตรงตำแหน่งใบซึ่งกิ่งแยกจะแตกออกมา  ที่ตำแหน่งนี้โดยธรรมชาติจะเป็นตำแหน่งที่กิ่งจะมีการเปลี่ยนทิศทาง  การดัดกิ่งที่ตำแหน่งระหว่างตาจะทำให้ดูไม่เหมือนธรรมชาติ 
  • ดัดให้กิ่งย่อยของกิ่งหลักออกมาอยู่ด้านนอกของมุมที่ดัด  ไม่ใช่อยู่ข้างใน 
  • โดยเฉพาะในกลุ่มไม้ผลัดใบ ต้องเพิ่มความอ่อนช้อยให้กับทุกส่วนของกิ่งที่ตรง
  • ไม่ใช่ดัดไม้ให้อ่อนช้อยไปทางซ้ายทางขวาเท่านั้น  แต่ต้องให้มีทิศทางขึ้น ลงด้วย 
การพันลวดเป็นสาเหตุให้ไม้เกิดความเครียด
อย่างไรก็ตามหากเราให้เวลาและการทำนุบำรุงโดยไม่มีการรบกวนไม้อีกในช่วงนั้น  ไม้บอนไซจะตอบสนองต่อการพันลวดได้อย่างดี  ห้ามพันลวดในไม้ที่ไม่สมบูรณ์หรืออ่อนแออยู่  เนื่องจากการพันลวดและการดัดกิ่งทำให้เนื้อเยื่อของต้นไม้เกิดการเสียหาย  ต้นไม้จะต้องซ่อมแซมเนื้อเยื่อในส่วนที่เสียหายนั้นและจะทำให้ไม้อยู่ในตำแหน่งที่เราดัดไว้  ซึ่งในการซ่อมแซมตัวเองนี้ต้นไม้ต้องมีความสมบูรณ์หากไม้อ่อนแอนอกจากจะไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้แล้วอาจจะต้องเสียกิ่งนั้นไปอีกด้วย
การพันลวดลำต้นอาจทิ่มปลายข้างหนึ่งของลวดลงไปในดิน หรืออาจจะพันรอบๆโคนต้นโดยลวดจะอยู่เหนือดินก็ได้ทั้งสองวิธี





เมื่อไรที่จะต้องพันลวดกับไม้ของเรา
สำหรับการสร้างไม้บอนไซในประเทศไทย  การพันลวดสามารถทำได้ตลอดทั้งปี  โดยให้พิจารณาว่าเมื่อใดสามารถพันลวดได้ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการพันลวดในหน้าหนาว  นอกจากไม้เมืองหนาวเช่น เมเปิล เอมฯ ซึ่งจะมีสภาพที่สมบูรณ์มากในฤดูหนาวบ้านเรา 
  • พยายามพันลวดในช่วงที่ไม้ผลัดใบ  ซึ่งจะเห็นกิ่งได้ชัดเจนทำให้เห็นโครงสร้างรวมของทั้งต้น  ทำให้ตัดสินใจได้ว่ากิ่งควรดัดไปในทิศทางใด  การพันลวดในช่วงนี้จะเหมาะที่สุดเพราะไม้มีเวลาซ่อมแซมรักษาส่วนที่แตกปริจากการดัดได้ทันก่อนฤดูหนาว  ซึ่งในช่วงนั้นการเจริญเติบโตของต้นไม้จะชงักไปตามสภาพของอากาศ   สำหรับไม้โตเร็วตรวจสอบลวดเป็นระยะๆเพื่อป้องกันการบาดของลวดลงไปในเนื้อไม้
  • ไม้ตระกูลสนสามารถทำการดัดลวดได้ตลอดเวลาตั้งแต่  แม้แต่ในฤดูหนาวก็ตามเพราะไม้ตระกูลนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว 
การถอดลวดออก
เมื่อต้นไม้เริ่มเติบโตขึ้นขนาดของลำต้นและกิ่งก็จะโตตามไปด้วย  ลวดที่เราพันไว้จะเริ่มรัดแน่นขึ้นไปเรื้อยๆ  และจะทำให้เกิดรอยบาดลึกลงไปในเนื้อไม้เป็นเกลียวตลอดแนวที่ดัด  หากรอยบาดเกิดเพียงตื้นๆก็จะหายไปเองอย่างรวดเร็ว  แต่หากรอยบาดนั้นเกิดลึกมากๆอาจจะเห็นเป็นรอยตลอดไปก็ได้ซึ่งลดความสวยงามของไม้ไปน่าเสียดาย  ฉนั้นเราจึงต้องหลีกเลี่ยงโดยการถอดลวดออกก่อนที่ลวดจะบาดลึกลงไปในเนื้อไม้  ปรกติการถอดลวดจะทำโดยการตัดลวดออกเป็นวงๆด้วยกรรไกรตัดลวด  การพยายามคลวยลวดออกทั้งเส้นอาจทำความเสีย
หายได้เช่น อาจกระทบกับตาไม้ที่อยู่ใกล้ๆ, ทำให้ใบฉีกขาด หรืออาจทำให้กิ่งหักได้  แต่ก็มีนักบอนไซหลายท่านที่นิยมคลายลวดออกทั้งเส้นซึ่งก็สามารถนำมาใช้ได้ใหม่  แต่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก   โดยเฉพาะกับกิ่งเล็กๆซึ่งบอบบางฉีกหักได้ง่าย  อย่าพยายามนำลวดทองแดงที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่  เพราะคุณจะพบว่ามันเป็นการยากในการที่จะดัดเส้นลวดให้เรียบเหมือนเดิม 

8 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 เมษายน 2555 เวลา 08:35

    มีประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณครับ

    ประวิทย์ (มือใหม่บอนไซ)

    ตอบลบ
  2. กะลังหาอยู่เพื่อศึกษาหน่อย มีประโยชน์มากขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณกับความรู้ครับสำหรับมือใหม่จะลองปฏิบัติดูครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณมากครับ...สุดยอดมาก

    ตอบลบ
  5. อ่านปี 64 มีประโยชน์มากครับ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณคะ กำลังจะลองทำดูบ้างคะ

    ตอบลบ

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!